Architectural Model House
การทำโมเดลอาคาร โดยตัดจากเลเซอร์
สวัสดีครับเพื่อนๆ สถาปนิก และนักออกแบบเขียนแบบทั้งหลาย
และผู้สนใจทุกท่าน วันนี้ผมมีตัวอย่างกรณีศึกษาที่ทำแล้ว ประสบความสำเร็จ
มาฝากพวกเราคงรู้อยู่แล้วว่าปกติเค้ารับโมเดลหลังหนึ่งหากเป็นบ้าน
ก็ใช้เวลาประมาณ 15-30 วันScale 1:50 ขึ้นไป ราคารับจ้างทำก็ประมาณ
2-4 หมื่นบาท (สมัยก่อนผมทำหลังละ8 พัน-1หมื่น เท่านั้น ค่าแรงถูก) ส่วนหาก
เป็นโปรเจค อาคารสูง ราคาประมาณ 1-2.5 แสนบาทเลยทีเดียว
ทราบไหมครับว่าทำไมราคาสูง ก็เพราะมันทำยาก ต้องนั่งหลังคดหลังแข็ง
ตัดกระดาษหรืออย่างดีก็ทำจาก PVC หรือ Acylic ทำหลังหนึ่งเสร็จ
ก็ปวดหลังระบมเลยละใครไม่เคยทำไม่รู้หลอกครับ
|
กว่า 10 ปีแล้วที่ผมละหน้าที่จากสถาปนิก มาเป็นเปิดบริษัท ทางด้านเทคโนโลยี
ส่วนใบประกอบก็เก็บนอนอยู่ในกระเป๋า ไม่ค่อยได้ใช้เหมือนแต่ก่อน หนึ่งในหลายๆ
เครื่องที่ผมขายก็จะป็นเครื่องเลเซอร์ ที่สมัยก่อนราคาสูงนับล้านบาท แต่ปัจจุบันราคาต่ำ
ลงมาหลักแสน (หรือต่ำกว่าแสนก็มี) ดังนั้นพวกเราจึงมีโอกาสใช้ของดีราคาถูกกันแล้ว
วันนี้ผมจะแนะนำให้ดูว่าเค้าเอาไปทำโมเดลอาคาร โมเดลสถาปัตยกรรม กันอย่างไร ลอง
ตามมาดูเลยครับ
ชมแกลลอรี่ โมเดลสถาปัตยกรรมที่ตัดจากเครื่องเลเซอร์ .... คลิ๊กที่นี่
ขั้นตอนการทำและวัสดุที่ใช้
|
|
VDO สาธิตการทำโมเดล
|
VDO สาธิตการตัด
|
|
|
Materials: วัสดุที่ใช้
- ไม้บันซ่า หรือไม้วีเนียบางๆ หรือ อคิลิคหนา 1-2 มม. ขึ้นอยู่กับความต้องการ
- กาวติดไม้หรือน้ำยาเชื่อมอคิลิค
Files: ไฟล์งานสร้างจาก AutoCAD หรือ CorelDraw , ILLustrator
ก็ได้ตามถนัด ไฟล์งานที่นำมาตัด จะต้องเป็น Vector โหมดเท่านั้น
ซึ่งวิธีการเตรียมไฟล์งานสามารถมาคุยกับผมได้ เมื่อคุณมีเครื่องแล้วไม่ยากอย่างที่คุณคิด
ขั้นตอนการทำงาน
1)เปิดไฟล์งานจาก AutoCAD แล้วสั่งตัดโดยแบ่งเลเยอร์สีตามที่ออกแบบไว้
อย่าลืมปิดเลเยอร์ที่ไม่ต้องการออก กำหนด Power = 30 Speed = 300
ตัดอคิลิคหน้า 1 มม. หรือไม้บางๆดังรูป ตัดออกมาเป็นรูปด้านหน้าตามรูปล่าง
2)ทำตามขั้นตอนที่ 1 อีกครังแต่ตอนนี้ใช้ไฟล์ รูปด้านซ้าย
โดยใน Raster โหมดนี้ เราจะใช้ Power 70 Speed = 300 ส่วนเครื่องทีแนะนำคือเครื่อง LRT-6090
รุ่นนี้เสถียรมากๆ ตัดงานหนักๆ นานๆได้ไม่มีปัญหา การดูแลรักษาก็ง่าย ไม่จุกจิก ใช้แล้วจะติดใจ
ราคาอยู่ที่ 3แสนกว่า เพื่อนๆที่ทำงานด้าน สถาปนิก งานออกแบบ และทำโมเดล อยู่แล้วมาคุยกับผม
โดยตรงผมจะสอนให้หมดเปลือก และ ให้ส่วนลดกับคุณอีก เราถือว่าเป็นเพื่อนๆ กัน
สังเกตดูผมจะทำจิก สำหรับการยิงโหมด ราสเตอร์ ขึ้นมาเพื่อการทำงานที่ง่ายขึ้น จากนั้นก็เอาชิ้น
งานที่ตัดเสร็จลงใส่ในจิกเพื่อยิงลวดลาย ลงไป
4)ทำขั้นตอนยิงลายอิฐ ลายหลังคาจนครบทุกชิ้น
5)ได้เวลาประกอบแล้วโดยประกอบดังนี้ตามลำดับ
: Front A, Front B, Front C, Front D, and Front E.
6)ติดแต่ละส่วนด้วยกาว หรือ นำยาเชื่อมอคิลิคการติดให้ดูภาพประกอบของผม
7)ประกอบด้านอื่นๆ ดังภาพ Front F, G, and H, Left B, and Right A, ทำให้เหมือนดังภาพ.
8)ประกอบ ที่เหลือ
9)สุดท้ายให้ประกอบด้าน Left C เข้ากับ Right A และ Front H. ด้วยกาวหรือ น้ำยาเชื่อมอคิลิค
10) มาถึงขั้นตอนการทำหลังคา ผมใช้สก๊อทเทปติดด้านในก่อนแล้วจึงหยอดกาว UHU แบบเหลวเพื่อยึดแกะได้แน่น หรือเราอาจใช้เศษไม้ดามโครงก็ได้
เพราะไม่มีใครเห็น ฮิ ๆ
11) ทำโรงรถ และหลังคาตามแบบ
12) Roof A and Roof C ประกอบกันจะได้ส่วนเฉลียงหลังบ้าน
13)ท้ายที่สุดก็ประกอบ Roof D, E, F, และ G, และ Roof H, I, และ J. ด้วยกาวอีกครั้ง เสร็จแล้ว !
ไม่ยากเลยใช้ไหม
บริษัทขอสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงรายละเอียดปลีกย่อยของสินค้า เช่นสี วัสดุที่ใช้ หรือราคาโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า โดยการปรับเปลี่ยนจะยึดเอาความต้องการของลูกค้าส่วนใหญ่ และ วัตถุดิบที่มีคุณภาพ มาใช้ทดแทนกัน เป็นที่ตั้ง สินค้าทั้งหมดได้รับการคุ้มครอง ภายใต้กฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์ ห้ามมิให้บุคคล หรือ นิติบุคคลใดๆ ลอกเลียนแบบการออกแบบ ไม่ว่า ส่วนหนึ่งส่วนใด หรือทั้งหมด หากละเมิด ทางบริษัทจะดำเนินการที่กฎหมายบัญญัติเอาไว้สูงสุด
-------------------------------------------------------------------
บริษัท ไอเดีย เมคเกอร์ เทคโนโลยี จำกัด (สำนักงานใหญ่)
1796-1800 ถ.สุขุมวิท ซ.ตรงข้ามบิ๊กซีจัมโบ้ ต.เทพารักษ์ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ
ลงถนนกาญจนาภิเษก สู่ถนนสุขุมวิทเพียง 1 ก.ม คลิกเพื่อดูแผนที่
Tel. 02-7550290-1 , 02-7578488-9 Hotline : 081-6298220 Fax. 02-7576980(Auto)
ในเวลาทำการ จันทร์-เสาร์ 08.30-17.30 น.